กุ้งก้ามแดงโดนสารเคมี ไม่ตาย แต่ฟื้นคืนชีพได้!!

 กุ้งก้ามแดงโดนสารเคมี ไม่ตาย แต่ฟื้นคืนชีพได้!!

การเลี้ยงกุ้งก้ามแดงเหมาะกับเกษตรอินทรีย์ เพราะกุ้งก้ามแดงไวต่อสารเคมีมาก เรียกว่าสารเคมีจากยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลงเพียงเล็กน้อยปลิวลงในบ่อเลี้ยง กุ้งก้ามแดงก็สามารถตายยกบ่อได้เลย ผมจึงอยากจะเล่าถึงประสบการณ์ที่เคยเจอมากับตัวเองให้ฟัง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นนานมาแล้ว สมัยผมเลี้ยงกุ้งและเพาะพันธุ์กุ้งก้ามแดงเองใหม่ๆ

ทำไมกุ้งก้ามแดงเป็นสีฟ้าแกมน้ำเงิน

 ทำไมกุ้งก้ามแดงเป็นสีฟ้าแกมน้ำเงิน

ผู้เพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดงส่วนใหญ่จะพบว่ากุ้งก้ามแดงที่เลี้ยงจะออกสีเขียวๆ หรือสีดำผสม แต่ทำไมคนบางคนเลี้ยงกุ้งก้ามแดงออกสีเป็นสีฟ้าแกรมน้ำเงิน แล้วเอาไปขายเป็นกุ้งสวยงามได้อีกด้วย
ผมได้ทำการทดลอง และพบว่ามีอยู่ 2 ปัจจัยหลักที่ทำให้กุ้งก้ามแดงเปลี่ยนสี คือ
(ต้องบอกก่อนเลยว่า มันเป็นเพียงแค่ผลการทดลองและข้อสังเกตส่วนตัวเท่านั้น)

อาหารกุ้งก้ามแดง กุ้งสี กุ้งสวยงาม สูตรเร่งสี เร่งโต

 อาหารกุ้งก้ามแดง กุ้งสี กุ้งสวยงาม สูตรเร่งสี เร่งโต

อาหารกุ้งก้ามแดง อาหารกุ้งสี หรืออาหารกุ้งสวยงามที่ดี จะต้องถูกผลิตขึ้นด้วยวัตถุดิบที่คัดสรรมาอย่างดี ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงกุ้งโดยเฉพาะ อาหารกุ้งเหล่านั้นจะต้องมีประสิทธิภาพในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร เร่งสี เร่งโตได้ดี

วัตถุดิบที่นำมาทำอาหารกุ้ง ได้แก่ แป้งสาลี เนื้อปลาขาวอย่างดี เนื้อกุ้งคัดสรร สาหร่ายสไปรูไลน่า กาบหอยบด จมูกข้าวสาลี สาหร่ายน้ำเค็ม และสาหร่ายแดง เป็นต้น

วิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญที่มีในอาหารกุ้ง ได้แก่

โรคของกุ้งก้ามแดง

 โรคของกุ้งก้ามแดง

โรคของกุ้งก้ามแดงที่พบ ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยมีปัญหาการระบาดของโรคอย่างรุนแรง แต่โรคของกุ้งก้ามแดงที่มักพบบ่อยคือ

1. โรคสนิม

โรคสนิมเกิดจากเชื้อโปรโตซัวเป็นปรสิตที่เกาะติดอยู่บนตัวกุ้งก้ามแดงมีสีทองหรือสีน้ำตาลคล้ายกับสีของสนิม ปรสิตดำรงชีพด้วยการดูดสารอาหารจากตัวกุ้งก้ามแดง ทำให้กุ้งก้ามแดงเกิดบาดแผลจนติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราแทรกซ้อน กุ้งก้ามแดงที่ติดเชื้อจะป่วย มีอาการเซื่องซึม ไม่เคลื่อนไหว ไม่กินอาหาร อ่อนแอลง จนเป็นสาเหตุการตายของกุ้งก้ามแดง

สาเหตุและการป้องกันปัญหากุ้งก้ามแดงตาย

 สาเหตุและการป้องกันปัญหากุ้งก้ามแดงตาย

สาเหตุการตายของกุ้งก้ามแดงหลักๆ คือ อาจจะแพ้สารเคมี เกิดอาการน๊อคน้ำ เกิดน้ำเน่าทำให้ออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ และปัญหาการกินกันเองของกุ้งก้ามแดงตัวที่ใหญ่และแข็งแรงกว่า รวมถึงช่วงที่กุ้งก้ามแดงลอกคราบด้วย ซึ่งเป็นช่วงที่กุ้งก้ามแดงมีความอ่อนแอมาก เพราะหลังจากลอกคราบใหม่ ตัวกุ้งก้ามแดงจะนิ่มและบอบบางมาก จนไม่สามารถต่อสู้และป้องกันตัวเองได้ ซึ่งมักจะถูกกุ้งก้ามแดงตัวอื่นจับกิน

การป้องกันปัญหากุ้งก้ามแดงกินกันเอง
เมื่อพบว่ามีกุ้งก้ามแดงที่กำลังจะลอกคราบให้จับใส่ตะกร้าแยก และลอยน้ำไว้ในบ่อเดิม หรือนำมาแยกเลี้ยงเดี่ยวในภาชนะอื่น เมื่อกุ้งลอกคราบเสร็จสมบูรณ์แล้ว ให้รอจนกว่ากุ้งก้ามแดงมีเปลือกแข็งแล้ว ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน หลังจากที่ลอกคราบเสร็จ หลังจากนั้นให้นำกลับไปเลี้ยงที่เดิมต่อได้